อยากปลดปล่อยความเหนื่อยล้าให้กับพนักงาน ควบคู่ไปกับการทำประโยชน์ตอบแทนคืนกลับให้กับสังคม การทำ CSR จึงตอบโจทย์ได้มากที่สุด เที่ยวได้แบบมีความสุขเพราะการแบ่งปัน ทำอย่างไรได้บ้างนั้น มาดูกัน

 

     เพราะการอยู่รวมกันในสังคมที่กว้างใหญ่ มักจะมีอะไรที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปเสมอ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมหรือสังคม แม้แต่สิ่งต่าง ๆ ที่รายล้อมเราอยู่ ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลกับสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเราทั้งสิ้น เคยได้ยินคำนี้ไหมคะ? “เมื่อสังคมดี อะไร ๆ ก็ดีไปหมด” นั่นคือเรื่องจริงค่ะ!

     มันจึงเป็นจุดกำเนิด ให้แต่ละองค์กรในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ต่างหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการทำประโยชน์ให้กับสังคมมากขึ้น หรือที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีในนามของ CSR” หรือจะเรียกกันเต็ม ๆ จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ นั่นก็คือ Corporate Social Responsibility แปลตรงตัวก็คือ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม” นั่นเอง

 

ตัวอย่างองค์กรชั้นนำ ที่ได้มีการจัดทำ CSR และประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

     
     ไม่น่าเชื่อว่าหลายองค์กรที่ได้ลงมือทำไปแล้ว ณ ตอนนี้สามารถต่อยอดได้จนประสบความสำเร็จในแบบยั่งยืน กลายเป็นโครงการในระยะยาวที่ได้ทั้งประโยชน์ต่อสังคม และทำให้พนักงานรู้สึกมีความสุขไปด้วยอีกต่างหาก

 

  •       โครงการไฟ-ฟ้า ของมูลนิธิธนาคารทหารไทย (TMB)

     ยกตัวอย่างเช่น “โครงการไฟ-ฟ้า” ของมูลนิธิธนาคารทหารไทย (TMB) ที่มุ่งเป้าไปยังการแก้ปัญหาเยาวชนเป็นหลัก โดยการปลูกฝังให้เด็ก ๆ ใช้เวลาว่างมาทำกิจกรรมให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ในสิ่งที่ตัวเองชอบ ผ่านการเรียนรู้ทางด้านศิลปะ กีฬา ทักษะทางด้านอาชีพ และการท่องเที่ยวชุมชน แบบไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ สอนโดยเหล่าจิตอาสา ที่เป็นพนักงานของ TMB เอง และจิตอาสาอื่น ๆ ที่สมัครเข้าร่วมโครงการเข้ามา

     ปัจจุบันทางมูลนิธิ TMB มีศูนย์การเรียนรู้ทั้งสิ้น รวม 5 แห่งด้วยกันค่ะ ได้แก่ ย่านประดิพัทธ์, ย่านถนนจันทร์, ย่านบางกอกน้อย, ย่านประชาอุทิศ และย่านสมุทรปราการ ซึ่งโครงการนี้ ได้ดำเนินการมาแล้วกว่า 10 ปีแล้ว จนกระทั่งปัจจุบัน มีเด็ก ๆ ที่มาเข้าร่วมโครงการรวมแล้วกว่า 5,000 คน จนทำให้มีเด็กหลาย ๆ คน ที่สามารถค้นพบตัวเองและต่อยอดนำสิ่งที่ตัวเองรัก ไปประกอบอาชีพได้เป็นอย่างดีและมีความสุข

 

  •         โครงการศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง ปตท.

     หรืออีกหนึ่งโครงการตัวอย่างที่น่าสนใจของ ปตท. ภายใต้ชื่อ ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง” โดยปตท.ได้จัดสรรแบ่งปันพื้นที่จำนวน 12 ไร่ แปรเปลี่ยนเนรมิตให้เป็นพื้นที่เชิงระบบนิเวศสีเขี๊ยวเขียว โดยแบ่งสัดส่วนเป็นผืนป่า 75% ผืนน้ำอีก 10% และพื้นที่ทำประโยชน์อื่นอีก 15%  เพื่อให้กรุงเทพเมืองแห่งคอนกรีตและฝุ่นควัน ได้มีพื้นที่ป่าสีเขียวสบายตา

     โครงการนี้ได้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างคนเมืองและธรรมชาติ แถมยังช่วยดูดซับมลพิษทางอากาศ และได้เป็นศูนย์การเรียนรู้เชิงอนุรักษ์กลางเมือง ที่เข้ามาแล้วรู้สึกได้ถึงความสงบ ร่มเย็น ชุ่มชื้น สูดโอโซนได้โดยไม่ต้องเดินทางไปหาธรรมชาติในต่างจังหวัดอีกด้วย

 

     สองตัวอย่างข้างต้น เป็นตัวอย่างที่ดี ที่บริษัทเจ้าใหญ่ได้ดำเนินการไปแล้วและประสบความสำเร็จจนน่ายกย่อง  สองตัวอย่างนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างส่วนน้อยของการตระหนักถึงและให้ความสำคัญกับกิจกรรม CSR นี้ ผลที่ได้รับนั่นคือประโยชน์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ได้มีเพียงแค่สังคมหรือประเทศชาติเท่านั้นที่จะได้รับไป แต่ตัวของพนักงานเองก็จะเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจกับสิ่งที่ทำ รู้สึกดีกับองค์กรมากขึ้น และมีความสุขกับสิ่งที่เขาได้ทำไปด้วยเช่นกัน

 

การทำ CSR จะช่วยส่งผลดีให้กับองค์กรและตัวพนักงานได้อย่างไร ?

 

  • โครงการจะต้องน่าสนใจและดึงดูดให้พนักงานเข้าร่วมด้วยความเต็มใจ      

      หากมองในฐานะพนักงานขององค์กร แต่ละวันทำงานอย่างเดียวก็หนัก ก็เครียด จะแย่อยู่แล้ว จนอาจทำให้หลายคนเริ่มมีความรู้สึกคิดลบกับการใช้เวลาให้กับองค์กร ดังนั้นการดึงพวกเขาเข้ามาทำ CSR ในแบบที่ไม่ตอบโจทย์ของเขา อาจทำให้ดูเหมือนกับราวเป็นการบีบบังคับ ทำให้พนักงานเครียดกว่าเดิม ไม่สนุก ไม่อยากให้ความร่วมมือ จนโครงการอาจล่มไปในที่สุด

       เพราะฉะนั้น การที่จะทำให้พนักงานในองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมได้ โครงการ CSR ที่ทางองค์กรจะริเริ่ม จะต้องมีความน่าสนใจและดึงดูดมากเพียงพอต่อพนักงาน เพราะพวกเขาเป็นตัวขับเคลื่อนที่ดี ที่จะทำให้โครงการแต่ละโครงการสำเร็จ ที่สำคัญ! พนักงานจะต้องรู้สึกได้ถึงการพักผ่อนไปในตัว ผ่อนคลาย และรู้สึกว่าตัวเองมีประโยชน์ในการทำสิ่งดี ๆ เพื่อสังคม

 

  • ทำให้พนักงานได้ผ่อนคลายและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

      คงจะดีไม่น้อยหากการทำ CSR ขององค์กรนั้น จะทำให้พนักงานได้ท่องเที่ยว เปิดหูเปิดตาไปด้วย  เพราะการได้ออกไปเจอสิ่งใหม่ ๆ จะช่วยเพิ่มพลัง และจะยิ่งทำให้พนักงานกระตือรือร้นที่จะออกไปทำมากขึ้น แถมยังอาจส่งผลดีในการช่วยปลูกฝังให้พนักงานรู้จักแบ่งปัน ทำประโยชน์ให้สังคม และอาจจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหลังจากกลับมาจากการทำกิจกรรมได้อีกด้วยนะคะ.

 

  • ช่วยให้เกิดการทำงานเป็นทีมและเรียนรู้ที่จะแบ่งปัน

      แน่นอนว่าการทำ CSR ไม่สามารถทำได้เพียงคน ๆ เดียวอย่างแน่นอน ต้องอาศัยความร่วมมือจากคนกลุ่มหนึ่ง และต้องการทำงานเป็นทีมจึงจะประสบความสำเร็จ กิจกรรม CSR จึงช่วยทำให้พนักงานในองค์กรเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันและเรียนรู้ที่จะแบ่งปัน ผ่านการช่วยเหลือสังคมนั่นเองค่ะ   

 

  • ช่วยให้องค์กรก้าวไปสู่เป้าหมายได้อย่างดีและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

     เมื่อพนักงานได้มีการทำกิจกรรมร่วมกันบ่อยครั้ง การพบเจอกันในรูปแบบที่ไม่ได้มีแค่เรื่องงาน จะช่วยสานสัมพันธ์ให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้น เพราะเกิดความคุ้นชินและสร้างความรู้สึกในทางบวก เมื่องานขับเคลื่อนไปได้อย่างราบรื่น ก็สามารถส่งผลให้องค์กร ก้าวไปสู่เป้าหมายได้ดียิ่งขึ้นแถมงานที่พนักงานทำออกมา ก็มีประสิทธิภาพมากขึ้นไปด้วยค่ะ

 

  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรและทำให้ผู้คนจดจำได้ง่าย

     การจัดตั้งบริษัทขึ้นมา เพื่อประกอบธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง องค์กรคุณอาจะเป็นที่รู้จักของคนแค่เพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณแค่เพียงเท่านั้น

     แต่การได้ออกไปทำประโยชน์ให้กับสังคมในรูปแบบขององค์กรนั้น จะทำให้องค์กรของคุณเป็นที่รู้จักในวงกว้างได้มากยิ่งขึ้น ผู้คนจะจดจำชื่อบริษัทหรือชื่อองค์กรของคุณได้ง่ายขึ้นและรู้สึกไปในทางบวก จดจำภาพลักษณ์และการมีส่วนร่วมต่อสังคม ซึ่งมันเป็นผลดีต่อธุรกิจของคุณอย่างแน่นอนค่ะ

 

 

5 ไอเดียการทำ CSR ในรูปแบบขององค์กร 

     
   

     ปัจจุบันหลายบริษัท มีงบประมาณในการท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะให้กับพนักงานในแต่ละปีอยู่แล้ว ทำไมไม่ลองเปลี่ยนการใช้งบเพื่อการท่องเที่ยวแบบสูญเปล่าในส่วนนี้ มาผสมผสานกับการทำกิจกรรม CSR กันดูล่ะคะ

     หากยังคิดไม่ออก ลองมาดู 5 ไอเดียการทำ CSR ในรูปแบบขององค์กรที่เราจะนำเสนอในวันนี้ รับรองได้เลยว่า องค์กรจะได้ทั้งการท่องเที่ยวและทำประโยชน์ให้กับสังคมไปด้วยในตัวอย่างแน่นอน ส่วนจะทำอย่างไรได้บ้างนั้น เราลองมาดูกันค่ะ

 

1. แบ่งกิจกรรมกลุ่ม เที่ยวแล้ว ต้องทำประโยชน์ให้กับชุมชนกลุ่มละ 1 อย่าง

         
     เป็นโอกาสที่ดีหากองค์กรคุณประกอบไปด้วยพนักงานเป็นจำนวนมาก เพราะนอกจากการท่องเที่ยวแล้ว ลองให้เวลาพวกเขาสัก 1 วัน โดยการแบ่งกลุ่มให้ไปทำประโยชน์กับชุมชนในพื้นที่ที่ได้เดินทางไปเยือน กลุ่มละ 1 อย่าง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเกษตรปลูกต้นไม้ใบหญ้า, กลุ่มการสอนหนังสือให้กับเด็ก, กลุ่มซ่อมแซมสถานที่สำคัญ, กลุ่มการจัดการอาชีวะอนามัยหรือเก็บขยะ เป็นต้น

     โดยทางองค์กรอาจแจ้งให้กับพนักงานทราบล่วงหน้า ถึงพื้นที่ที่ต้องการเดินทางไป แล้วให้แต่ละกลุ่มทำการบ้านว่าจะทำประโยชน์อย่างไรให้กับชุมชนถิ่นนั้นได้บ้าง

     หรือตัวองค์กรเอง อาจจะทำการติดต่อเจ้าของพื้นที่ชุมชนเหล่านั้นไว้ก่อน และสอบถามถึงความต้องการว่ามีความขาดแคลน หรือต้องการให้ช่วยเหลือในส่วนใดหรือไม่ จากนั้นจึงค่อยทำการแบ่งกลุ่มพนักงาน แล้วสนับสนุนงบประมาณที่เหมาะสม เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กร พนักงาน และชุมชน ให้รู้สึกดีกันทั้งสองฝ่ายนั่นเองค่ะ

 

2. เที่ยวและนำเสนอจุดเด่นของท้องถิ่น ช่วยกันโปรโมทสินค้าท้องถิ่นให้กับชาวบ้าน

     
     ประเด็นนี้น่าสนใจมาก ๆ เพราะชุมชนบางชุมชน พื้นที่บางพื้นที่มีจุดเด่น มีสินค้าท้องถิ่น (OTOP) ที่ขึ้นชื่อ และน่าสนใจไม่น้อย แต่คนที่พื้นที่บางส่วน ยังทำการตลาดและขาดความรู้ในการโปรโมทสินค้า

      คุณอาจใช้ช่องทางนี้ ให้พนักงานในองค์กรของคุณ ร่วมด้วยช่วยกันให้ความรู้กับชาวบ้าน หรือช่วยโปรโมทผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อให้ของดีของชุมชนนั้น เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น

     ซึ่งอาจจะทำผ่านโปรเจคที่เป็นของบริษัทหรือองค์กรของคุณโดยตรง เช่น Facebook Page หรือ Web site ที่องค์กรของคุณจัดทำขึ้นมาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ยิ่งคนเยอะก็ยิ่งมีช่องทางและโอกาสในการเผยแพร่ได้เยอะ 100 คน 100 โพส 100 แชร์ ผ่านสื่อปัจจุบันได้ไปได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งโชว์ ยิ่งกระจายไปไว ก็ยิ่งเป็นการช่วยโปรโมท และทำให้มีคนเห็นกันมากขึ้น คงจะเป็นเรื่องดีให้กับชุมชนไม่น้อยเลยละค่ะ

 

3. ให้พนักงานลองนำเสนอโครงการที่ต้องการทำ ในชุมชนที่ตนเองอยากไปท่องเที่ยวด้วยตัวของเขาเอง

     
     พนักงานจะมีความสุขแค่ไหน หากพวกเขาได้เป็นคนเลือกสถานที่ท่องเที่ยวด้วยตัวเอง เมื่อพวกเขาเลือกกันได้แล้ว ในฐานะขององค์กรก็แทรกการทำกิจกรรมเพื่อสังคมเข้าไป ผ่านการนำเสนอไอเดียของพนักงานของคุณนั่นเองค่ะ โดยมอบสิทธิ์ให้กับพนักงานของคุณได้เป็นเจ้าของโปรเจคชิ้นนั้น

     การทำ CSR ในรูปบบนี้ นอกจากชุมชนที่พวกเขาไปเยือนจะได้รับประโยชน์แล้ว ยังทำให้ตัวของพนักงานเองได้รู้สึกดี กับสิ่งที่พวกเขาได้เป็นคนคิดและทำขึ้นมาอีกด้วย

 

4.เปลี่ยนสถานที่วนไปไม่ซ้ำ แต่ทำประโยชน์ในลักษณะเดียวกันอย่างต่อเนื่อง

     
     ฟังดูอาจจะงง ๆ กันนิดนึง แต่มันคือความคิดแบบเบสิกๆ เลยค่ะ อธิบายง่าย คือการนำสินค้าขององค์กรของคุณช่วยทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ผ่านการดำเนินโปรเจคในระยะยาว  แบบกระจายหลายพื้นที่ วนไปไม่ซ้ำ

     บริษัทคุณผลิตอะไร ก็เอาสิ่งนั้นไปเกื้อหนุน ไปทำประโยชน์ให้กับสังคมให้กับพื้นที่ที่ยังคงมีความขาดแคลน เพื่อเป็นการกระจายให้ได้ประโยชน์ในหลาย ๆ พื้นที่ ก็ลงวนพื้นที่ไปปีละ 2-3 ที่ ไม่ซ้ำกัน และให้พนักงานของคุณได้ท่องเที่ยวไป พร้อมกับนำสินค้าที่คุณเป็นผู้ผลิตไปทำประโยชน์ให้กับสังคมด้วย เป็นต้น

     เพราะฉะนั้นลองดูสิคะว่า สิ่งที่องค์กรของคุณได้ทำอยู่ สามารถนำไปสร้างประโยชน์อะไรได้กับชุมชนได้บ้าง หากคิดออกแล้ว ก็ลุยกันเลยค่ะ

 

5.ให้พนักงานจับกลุ่มตามความถนัด แล้วสนับสนุนงบเพื่อให้นำความรู้เหล่านั้นไปช่วยสังคมแต่ละสังคม พร้อมรายงานผล

     
     การทำ
CSR ในลักษณะนี้ พนักงานของคุณจะเป็นเจ้าของผลงานที่ทำสิ่งเหล่านั้นออกมาให้กับสังคมได้เป็นอย่างดี และดีมาก ๆ ด้วย เนื่องจากเป็นความถนัดของพวกเขาเอง เพียงแค่คุณเป็นฝ่ายสนับสนุนงบ เพื่อให้พวกเขาทำในสิ่งที่เขาอยากทำให้กับสังคม พร้อมทั้งให้พวกเขาได้พักผ่อนไปในตัว เพียงเท่านี้ ก็ไปได้ดีแล้วละค่ะ

 

 

     เพราะชีวิตของเราทุกคนไม่ได้มีแค่เพียงเรื่องงาน หรือจะต้องใช้ชีวิตเข้า 8 ออก 5 ในออฟฟิศอยู่ตลอดเวลา การมีกิจกรรมเข้ามาแทรก จะช่วยยิ่งเสริมสร้างความสัมพันธ์และช่วยประสานช่องว่างของคำว่าพนักงานและองค์กร ให้แนบสนิท ใกล้ชิดกันมากขึ้น

     การทำ CSR โดยการผสมผสานการท่องเที่ยวเชิงทำประโยชน์ให้กับสังคมไปด้วยนั้น ก็ยิ่งเป็นผลดีกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นชุมชนที่ได้รับประโยชน์ ตัวพนักงานที่ได้ทั้งความอิ่มบุญ อิ่มใจ ได้ช่วยเหลือสังคม นอกจากจะทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีประโยชน์แล้ว ยังช่วยให้องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดี คนจดจำแบรนด์ได้ง่าย ใช่เพียงแค่การรับเอาประโยชน์แค่เพียงในเชิงธุรกิจเท่านั้น แต่ต้องคืนกลับไปสู่สังคมอีกด้วย

 

     อย่างไรก็ตาม หากต้องการให้โครงการ CSR ขององค์กรของคุณมีความยั่งยืน ต้องมีการติดตาม ทำอย่างต่อเนื่อง และประเมินผลอยู่เรื่อย ๆ จะช่วยให้ก่อประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายได้อีกยาวนานนั่นเองค่ะ

     สนใจการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ หรือต้องการทำ CSR เป็นหมู่คณะ สามารถปรึกษาและติดต่อเราได้ที่ Tour Thailand Booking https://tourthailandbooking.com/ หรือผ่านเบอร์ติดต่อ 02-616-6007, 086-342-3148-9 นะคะ เรายินดีให้คำแนะนำค่ะ

ผู้เขียน : Sine Ratcharak